วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ชมรมจิตเวชเด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย






ศิลปะเป็นภาษาที่ dynamic จากการอบรมครั้งนี้สิ่งที่นำเสนออาจไม่ใช่เรื่องที่ใหม่จนไกลตัว เพราะผู้สร้างภาษา ผู้คิดคนภาษากลับไม่ใช่ใครอื่นไกล นอกจากตัวศิลปินเอง การ empowerความเป็นศิลปินที่ใช่จากตัวตน แต่จากการเข้าใจในตัวตน ของผู้สร้างชิ้นงาน ผู้บำบัด และผู้รักษา ที่ไม่มีเส้นแบ่งใดๆบนโลกแห่งศิลปะ เปรียบเสมือนเป็นการเดินทางร่วมกัน การจะเข้าถึงจิตใจของผู้รับการบำบัดที่เป็นเด็กหรือวัยรุ่น นั้นคงไม่มีวิธีใดที่จะดีไปกว่าการย้อนกลับไปสู่ความเป็นเด็กหรือวัยรุ่นในตัวของผู้บำบัดเอง ศิลปะเป็นเหมือนเส้นทางเดินให้ผู้บำบัด ร่วมเดินทางไปบนเส้นทางที่ บางคนอาจเคยเดินทางผ่านมาแล้ว บางคนอาจยังไม่เคย เพื่อสามารถที่จะ แนะนำ แบ่งปัน และเข้าใจ ในผู้ที่เราร่วมเดินทางมาด้วยกัน หรือ เส้นทางที่ตัวเองเคยเดินผ่านมาแล้วได้เป็นอย่างดี



วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

At my bedside ศิลปะบำบัดข้างข้างเตียง ณ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ



art and walking meditation








ทำอย่างไรผู้คนจะเข้าใจว่า ศิลปะ และ ธรรมะ หาใช่คนละเรื่องกัน ศิลปะเป็นเหมือนเครื่องสะท้อน เป็นเหมือนตัวเชื่อมให้เรากลับไปหา
สภาวะแห่งจิตที่ตื่นรู้
จิตที่เบิกบาน
จิตที่เข้าใจ ในความรู้สึกที่แท้จริงแห่งจิตนั้น
จิตที่เห็นทุกข์ แต่ใช่จมกับความทุกข์นั้น
จิตที่เรียนรู้ที่จะให้และรับ อย่างไร้เงื่อนไข
ถ้ามีสิ่งใดที่สามารถสร้างโอกาสให้จิตสามารถ เข้าถึงสภาวะ เหล่านี้
แม้ผู้คนจะมีความทุกข์ที่ต้องเผชิณอยู่ตรงหน้า
แม้ชีวิตจะแขวนอยู่บนความรู้และไม่รู้
ถ้ายาพาหนะแห่งจิตนี้จะถูกเรียกว่า ศิลปะ
และมันจะเป็นคนละเรื่องกับ ธรรมะ
หรือการเข้าถึงของสภาวะธรรมแห่งจิต หรือ?